วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หลักเกณฑ์และเอกสารสำหรับประเมินเลื่อนวิทยะฐานะแบบเชิงประจักษ์ ว7/2558

รวมแบบเอกสารและหลักเกณ์การกระเมินเลือนวิทยฐานะแบบเชิงประจักษ์ล่าสุด ปี พ.ศ.2558

ดาวโหลดเอกสาร คลิกที่นี่

การพัฒนาทักษะการเขียนเล่าเรื่องจากภาพ โดยใช้รูปแบบ Spider Map ๗ ขั้นตอน

เผยแพร่งานวิจัย
เรื่อง              การพัฒนาทักษะการเขียนเล่าเรื่องจากภาพ  โดยใช้รูปแบบ  Spider  Map 
๗  ขั้นตอน  ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่  ๕  โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น
ผู้ศึกษา           นางชุติพร  ไชยเชาวน์โรจน์ 
ปีที่ศึกษา         ๒๕๕๖

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  ๑)  พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้  โดยใช้รูปแบบ  Spider  Map  ๗  ขั้นตอน  พัฒนาทักษะการเขียนเล่าเรื่องจากภาพ  ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๕  ให้มีประสิทธิภาพ  ๘๐/๘๐  ๒)  ศึกษาผลการเรียนรู้การเขียนเล่าเรื่องจากภาพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๕  หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้  โดยใช้รูปแบบ  Spider  Map  ๗  ขั้นตอน  ๓)  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๕  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การเขียนเล่าเรื่องจากภาพ  โดยใช้รูปแบบ  Spider  Map  ๗  ขั้นตอน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๕/๑  โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่นที่กำลังศึกษาอยู่  ภาคเรียนที่  ๑  ปีการศึกษา  ๒๕๕๖  จำนวน ๑ ห้องเรียน  นักเรียน ๑๑  คน  ศึกษาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย  (Simple  Random  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  คือแผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการเขียนเล่าเรื่องจากภาพ  โดยใช้รูปแบบ  Spider  Map  ๗  ขั้นตอน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบสอบถามความพึงพอใจ
          ผลการศึกษาพบว่าแผนการจัดการเรียนรู้  โดยใช้รูปแบบ  Spider  Map  ๗ ขั้นตอน พัฒนาทักษะการเขียนเล่าเรื่องจากภาพ  มีประสิทธิภาพ  ๘๐.๓๔/๙๒.๖๑  ดัชนีประสิทธิผล  เท่ากับ  ๐.๖๖  นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น  คิดเป็นร้อยละ  ๖๖  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๕  และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ  Spider  Map    ขั้นตอน  ในระดับมาก

ดาวโหลดเอกสาร คลิกที่นี่

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การประกวดรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ประจำปี 2555 ระดับภาค

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2555 ได้ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดเพื่อรับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ประจำปี 2555 ในระดับภาค ซึ่งผลการประเมินเป็นไปด้วยนี้ ตอนนี้คงเหลือแต่รอผลการประกวดว่าจะไ้ด้ไปประกวดในระดับประเทศต่อไปหรือไม่
































วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เครือข่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา

รับรางวัลเครือข่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2555 ที่สนามกีฬาแห่งชาติ













รายงานการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมทักษะชีวิต เพื่อป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการกลุ่ม


ชื่อเรื่อง           รายงานการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมทักษะชีวิต  เพื่อป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด
ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โดยใช้กระบวนการกลุ่ม
ผู้รายงาน         นางสมฤทัย    ไกวัลนาโรจน์
หน่วยงาน        โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น
ปีที่พิมพ์                                2553



บทคัดย่อ

                รายงานการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมทักษะชีวิต  เพื่อป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด  ของนักเรียน
ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการกลุ่ม   มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมทักษะชีวิต  เพื่อป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด  ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม  2) ศึกษาการปฏิบัติตนที่แสดงถึงการป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด  3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมทักษะชีวิต  เพื่อป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น  ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ ปีการศึกษา  2553  จำนวน  คน  ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  1) คู่มือการจัดกิจกรรมทักษะชีวิต  เพื่อป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด  ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการกลุ่ม  2) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) แบบประเมินทักษะชีวิต  เพื่อป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด  เป็นแบบประเมินที่ผู้รายงานสร้างขึ้น  จำนวน  20 ข้อ  4) แบบสอบวัดทักษะชีวิต ที่แสดงถึงการป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด  เป็นแบบวัดที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 20  ข้อ  5) แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับนักเรียน เป็นแบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น  จำนวน  10 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า  การศึกษาการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมทักษะชีวิต  เพื่อป้องกันตนเองจาก
สิ่งเสพติดของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการกลุ่ม
โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น ผลที่เกิดจากการศึกษา

                        1. ผลของการใช้คู่มือการจัดกิจกรรมทักษะชีวิต  เพื่อป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด
ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการกลุ่ม 
สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   
                        2. การปฏิบัติตนที่แสดงถึงการป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด   ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมทักษะชีวิต   เพื่อป้องกันตนเองจาก
สิ่งเสพติด  โดยใช้กระบวนการกลุ่ม  มีค่าเฉลี่ย  เท่ากับ  70.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.40
ซึ่งแสดงถึงนักเรียนมีการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด  อยู่ในระดับดี 
                        3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมทักษะชีวิต   เพื่อป้องกัน
ตนเองจากสิ่งเสพติด  ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  โดยใช้กระบวนการกลุ่ม  โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น  นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยคู่มือการจัดกิจกรรมทักษะชีวิต  เพื่อป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด  อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.75 และ มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ  3.53
                        จากการศึกษา การเรียนด้วยคู่มือการจัดกิจกรรมทักษะชีวิต  เพื่อป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทุกคน  ส่งผลให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่จะใช้ในการป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด คือ ทักษะการเห็นคุณค่าในตนเอง  ทักษะการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล  ทักษะการปฏิเสธและทักษะการจัดการกับความเครียด  นักเรียนมีความสุขสนุกสนานในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม ส่งผลให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลที่มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาเพิ่มขึ้น
                        โดยสรุป  ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลสารสนเทศ  ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง ครู ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษา  ในการมีส่วนร่วมและมีบทบาท  พัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินให้สามารถป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดได้เต็มตามศักยภาพ  อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  พร้อมทั้งเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  

วิเคราะห์การวิ่งระยะทาง 400 เมตร ของนักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น


นางสมฤทัย  ไกวัลนาโรจน์. วิเคราะห์การวิ่งระยะทาง 400 เมตร ของนักกรีฑาทีมโรงเรียนโสต
                                                     ศึกษาจังหวัดขอนแก่น
ปีที่ศึกษา                                    2554.

บทสรุป

จุดมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อทราบความเร็วต้นในการวิ่งระยะทาง 400 เมตร
ในช่วง 50 เมตรแรก และความเร็วปลายในช่วง 50 เมตรสุดท้าย ทางโค้ง 100 เมตรที่หนึ่ง
ทางตรง 100 เมตรที่สอง ทางโค้ง 100 เมตรที่สาม และทางตรง 100 เมตรที่สี่ โดยศึกษาจากนัก
กรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 6 คน และใช้เครื่องจับเวลาอัตโนมัติสำหรับหาค่าเวลาในการวิ่งของแต่ละช่วง
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีความเร็วของการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ในช่วง 50 เมตรแรก เฉลี่ยเท่ากับ 8.78 เมตร/วินาที
2. นักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีความเร็วของการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ในช่วง 50 เมตรสุดท้าย เฉลี่ยเท่ากับ 7.97 เมตร/วินาที
3. นักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีความเร็วของการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ในช่วงทางโค้ง100 เมตรที่หนึ่ง เฉลี่ยเท่ากับ 8.63 เมตร/วินาที
4. นักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีความเร็วของการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ในช่วงทางตรง100 เมตรที่สอง เฉลี่ยเท่ากับ 9.24 เมตร/วินาที
5. นักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีความเร็วของการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ในช่วงทางโค้ง100 เมตรที่สาม เฉลี่ยเท่ากับ 8.30 เมตร/วินาที
6. นักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีความเร็วของการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ในช่วงทางตรง100 เมตรที่สี่ เฉลี่ยเท่ากับ 7.52 เมตร/วินาที
7. นักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีค่าเฉลี่ยความเร็วสูงสุดของการวิ่งระยะทาง 400 เมตรเท่ากับ 9.24 เมตร/วินาที ที่ช่วงวิ่งระยะทาง 100 เมตรที่สอง
8. นักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีเวลาของการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ในช่วง 50 เมตรแรกเฉลี่ยเท่ากับ 5.60 วินาที
9. นักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีเวลาของการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ในช่วง 50 เมตรสุดท้าย เฉลี่ยเท่ากับ 6.3 วินาที
10. นักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีเวลาของการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ในช่วงทางโค้ง 100 เมตรที่หนึ่ง เฉลี่ยเท่ากับ 11.59 วินาที
11. นักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีเวลาของการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ในช่วงทางตรง 100 เมตรที่สอง เฉลี่ยเท่ากับ 10.81 วินาที
12. นักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีเวลาของการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ในช่วงทางโค้ง 100 เมตรที่สาม เฉลี่ยเท่ากับ 12.04 วินาที
13. นักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีเวลาของการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ในช่วงทางตรง 100 เมตรที่สี่ เฉลี่ยเท่ากับ 13.24 วินาที
14. นักกรีฑาทีมโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น มีค่าเฉลี่ยเวลาในการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ดีที่สุดเท่ากับ 10.81 วินาที ที่ระยะทางตรง 100 เมตรที่สอง

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่นปีการศึกษา 2554

เมื่อวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2555 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่นได้จัดกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือของนักเรียน  ครูต๋อยในฐานะผู้กำกับลูกเสือสำรองได้พาลูกเสือสำรองเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย โดยปีน้ีโรงเรียนกำหนดให้พานักเรียนไปศึกษาดูงานและเดินทางไกลศึกษาธรรมชาติที่วัดผาน้ำย้อย  และพระมหาเจดีย์ชัยมงคล  อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด และเดินทางกลับมาพักแรมที่สนามกีฬาภายในโรงเรียน